แนะนำ โรงแรมที่พัก โตเกียว ญี่ปุ่น อัพเดตล่าสุด

เทศกาลกิออนมัตสุริ Gion Matsuri


เทศกาลกิออนมัตสุริ(Gion Matsuri) นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของญี่ปุ่นเลยนะคะ ซึ่งเทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นโดยศาลเจ้ายาซากะ(Yasaka Shrine)อันแสนจะโด่งดังแห่งเมืองเกียวโต(Kyoto)ที่จะจัดเป็นประจำในช่วงวันที่ 1 – 31 กรกฎาคมของทุกปีนั่นเองค่ะ บอกได้คำเดียวว่าเป็นเทศกาลที่ทำให้บรรยากาศภายในเมืองคึกคักกันถึงขีดสุด เพราะมีกิจกรรมทั้งหลากหลายและเต็มไปด้วยสีสัน มีทั้งขบวนแห่เกี้ยว(Yamaboko Junko)ในวันที่ 17 ที่มีความงดงามตระการตามากเป็นพิเศษ ความสนุกสนานไปกับงานเฉลิมฉลองของขบวนโยอิยามะ(Yoiyama)ในตอนเย็น รวมทั้งวันที่ 24 กรกฎาคมยังจะมีขบวนแห่ครั้งที่สองซึ่งเล็กกว่าขบวนแรกแต่ความสวยนี่ก็กินกันไม่ลงเชียวค่ะ

ถ้าจะพูดถึงภาพรวมของกิจกรรมหลักของเทศกาลกิออนมัตสุรินั้นไฮไลท์ของการจัดกิจกรรมจะเกิดขึ้นในย่านกิออนฝั่งตรงข้ามแม่น้ำคาโม(Kamo River) ในช่วง 3 วันของการแห่ขบวน จะเป็นการแห่ยมราชยามะ(yama) และโฮโกะ(hoko) ตั้งแต่ครึ่งกิโลเมตรของสี่แยกถนน Karasuma และถนน Shijo ในช่วงตั้งแต่เวลา 18:00-23:00 จะปิดการจารจรเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับจัดซุ้มจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม และจัดกิจกรรม ได้แก่ วันที่ 16 ก.ค. เรียกว่าโยอิยามะ(Yoiyama) วันที่ 15 ก.ค. เรียกว่าโยอิโยอิยามะ(Yoiyoiyama) และวันที่ 14 ก.ค. เรียกว่าโยอิโยอิโยอิยามะ จนถึงวันที่ 24 กรกฎาคม เป็นขบวนแห่เล็กๆโดยไม่ปิดถนน

ยังไม่หมดค่ะด้วยความที่เทศกาลนี้เค้าจัดกันยาวๆทำให้มีสิ่งน่าสนใจให้ได้ดูเยอะมากๆ นอกจากจะมีกิจกรรมหลักที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของงานแล้วยังจะมีกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายให้ผู้ที่สนใจได้ชมกัน ไม่ว่าจะเป็นในช่วงวันที่วันที่ 10-14 กรกฎาคม และ 17-21 กรกฎาคม นักท่องเที่ยวก็จะสามารถชมการประกอบเกี้ยวที่ใช้ในวันโยอิยามะ(yoiyama)ตั้งแต่เริ่มต้นโดยไม่ใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียว และเทศกลเบียวบูมัตสุริ(Byobu Matsuri)ที่เกิดขึ้นพร้อมกับวันโยอิยามะ ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นจะเปิดประตูบ้านที่จัดแสดงมรดกของครอบครัวเพื่อให้คนที่เดินผ่านไปมาได้ชม ในส่วนขบวนมิโกชิ(mikoshi)ที่เป็นไฮไลท์ของงานเทศกาลที่ต้องมาดูให้ได้นั้นจะเริ่มแห่ตั้งแต่เวลา 18:00 ในวันที่ 17 กรกฎาคม เริ่มมาจากศาลเจ้ายาซากะ(Yasaka)ไปจบที่โอตะบิโช(Otabisho) ซึ่งจะนำเกี้ยวเทพประจำศาลเจ้าแห่ไปรอบๆผ่านเมืองมิโคชิ โดยการแบกไว้บนไหล่ และในวันที่ 24 กรกฎาคมก็จะนำกลับไปยังศาลเจ้าเช่นเดิม เรียกได้ว่าเป็นเทศกาลที่รวบรวมเอาความงดงามของวัฒนธรรมที่แสนจะล้ำค่ามาให้คนทั่วไปได้ชมกันแบบจุใจ และบอกได้คำเดียวว่าถ้ามีโอกาสมาในช่วงที่จัดแล้วพลาดล่ะก็เสียดายแย่เลยล่ะค่ะ