แนะนำ โรงแรมที่พัก โตเกียว ญี่ปุ่น อัพเดตล่าสุด

ยาประจำตัวหรือยาทั่วไปในไทยที่ห้ามนำเข้าญี่ปุ่น


จากข้อมูลของเฟสบุกสถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้มีการประกาศแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวไทยและผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศถึงรายชื่อยาที่มีส่วนผสมต้องห้ามภายใต้กฎหมายของญี่ปุ่นซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกอ้างอิงมาจากประเทศสหรัฐ​อีกต่อหนึ่ง เพื่อแจ้งเตือนผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นให้ระมัดระวังในกรณีที่จะนำยาเข้าประเทศเกี่ยวกับรายการยาต้องห้ามทั้งหมด 11 รายการด้วยกัน โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้

รายชื่อยาประจำตัวหรือยาทั่วไปในไทยที่ห้ามนำเข้าญี่ปุ่น

กลุ่มที่ 1 จำพวกยาแก้หวัด แก้แพ้ ลดน้ำมูก ที่มีส่วนผสมของสารซูโดอีเฟดรีนที่สามารถนำไปใช้เป็นสามารถตั้งต้นในการผลิตยาบ้าได้ ได้แก่

1. TYLENOL COLD

1. TYLENOL COLD

2. ACTIFED

2. ACTIFED

3. SUDAFED

3. SUDAFED

4. ADVIL COLD & SINUS

4. ADVIL COLD & SINUS

5. DRISTAN COLD

5. DRISTAN COLD

6. DRISTAN SINUS

6. DRISTAN SINUS

7. DRIXORAL SINUS

7. DRIXORAL SINUS

ซึ่งยาทั้งหมดทั้ง 7 รายการนั้นไม่ได้มีการจัดจำหน่ายในประเทศ โดยไทยอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะในโรงพยาบาลภายใต้การควบคุมกำกับดูแลเท่านั้น และถึงแม้ว่ายาที่คุณนำเข้าประเทศญี่ปุ่นจะไม่ใช่ชื่อการค้าเดียวกันกับที่แจ้งไว้ใน 7 ข้างต้นทว่าก็ไม่มีการอนุญาตให้นำยาที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีนออกนอกประเทศติดตัวไปด้วยแต่อย่างใด นอกจากนี้แล้วยาแก้หวัดที่ส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางก็เป็นหนึ่งในยาที่ต้องระวังในการนำติดตัวออกนอกประเทศด้วยเช่นกัน เพราะส่วนใหญ่แล้วประเทศต่างๆ จะห้ามนำยาที่มีส่วนผสมของสารกระตุ้นระบบประสาทเข้าประเทศ

กลุ่มที่ 2 ยาแก้หวัดกลุ่มที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ได้แก่

1. NYQUIL

1. NYQUIL

2. NYQUIL LIQUICAPS

2. NYQUIL LIQUICAPS

3. VICKS INHALER

3. VICKS INHALER

กลุ่มที่ 3 คือยา LOMOTIL ซึ่งเป็นกลุ่มยาแก้ท้องเสียที่บ้านเราเพิ่งมีการยกเลิกการขึ้นทะเบียนไปเมื่อไม่กี่ปีก่อนเนื่องจากมีส่วนผสมของสารที่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 3 คือสารไดเฟนอกไซเลต และแม้ว่าจะยกเลิกการขึ้นทะเบียนไปแล้วแต่ก็อาจจะยังคงมีเหลือในระบบได้อีก เช่น บางโรงพยาบาลอาจยังจ่ายยาให้ผู้ป่วยหรือบางบ้านอาจจะยังมีการใช้ยาดังกล่าวคงค้างอยู่ก่อนที่จะมีการยกเลิกก็เป็นได้

LOMOTIL

LOMOTIL

ซึ่งเมื่อมีการตรวจรอบรายชื่อยาโดยองค์การอาหารและยาหรือ อย. โดยทั้ง 11 รายการพบว่าชื่อทางการค้าทั้งหมดนั้นไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนรายชื่อยาในประเทศไทยแต่อย่างใด แต่กระนั้นการนำยาออกนอกประเทศในแต่ละครั้งจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษและรอบคอบมากยิ่งขึ้น รวมทั้งควรมีการอ่านฉลากยาให้ละเอียดในกรณีที่อาจจะมีสารต้องห้ามผสมอยู่ในยานั้นๆ รวมถึงในชื่อการค้าอื่นๆ ด้วย

สารที่อาจเป็นส่วนผสมในตัวยาที่ควรพึงระวัง ได้แก่

  • Pseudoephedrine, Ephedrine
  • Diphenoxylate
  • Codeine
  • บรรดากลุ่มยานอนหลับเช่น Diazepam, Lorazepam
  • บรรดากลุ่มยารักษาโรคเครียดเช่น Fluoxetine

การนำยาออกนอกประเทศ

สำหรับการนำยาออกนอกประเทศนั้นตามระเบียบสากลอนุญาตให้สามารถนำยาที่จำเป็นติดตัวไปได้ในปริมาณไม่เกินสำหรับการรับประทานยาเป็นเวลา 30 วัน

ข้อแนะนำในการนำยาออกนอกประเทศ

  1. 1. ไม่ควรแกะเม็ดยาออกจากแผงหรือบรรจุภัณฑ์ เพราะฉลากจะมีทั้งข้อมูลรายชื่อยา, คำแนะนำการใช้ยาที่ชัดเจนให้สามารถตราวจสอบได้โดยง่าย
  2. 2. หากมีใบสั่งยาจากแพทย์ให้นำใบสั่งยาติดตัวไปด้วยเสมอ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการรับยาเฉพาะบุคคล
  3. หากจำเป็นต้องนำยากลุ่มต้องห้ามออกนอกประเทศโดยเฉพาะยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทหรือเป็นยากลุ่มเดียวกับยาเสพติดหรือยาแก้ปวดชนิดรุนแรง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น​ยาที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่จะสามารถสั่งจ่ายภายใต้การควบคุมให้เท่านั้น เช่น เมทาโดน มอร์ฟีนหรือโคเดอีน โดยยากลุ่มนี้กฎหมายอนุญาตให้สามารถนำออกนอกประเทศได้แต่มีกฎระเบียบอยู่ว่าต้องมีการขออนุญาตในการนำออกประเทศพร้อมทั้งมีใบสั่งแพทย์ที่ถูกต้องกำกับไปด้วยเท่านั้น

อย่างไรก็นำยาออกนอกประเทศนั้นแต่ละประเทศจะมีกฎและข้อห้ามที่แตกต่างกันไป ดังนั้นนักท่องเที่ยวจึงควรควรตรวจสอบข้อห้ามของแต่ละประเทศให้ถี่ถ้วนอีกครั้งหากฝ่าฝืนอาจถูกดำเนินคดีได้

 


ขอบคุณรูปสวยๆจาก:
haikudeck.com
dollargeneral.com
eurovaistine.lt
sudafed.com
sinuscure.org
c.shld.net
videoarcheology2 @ youtube.com
canadadrugsuperstore.com
grouponcdn.com
walmart.com
priceline.com.au
lomotil.com.mx